ออกกำลังกายแต่ละครั้งเพื่อให้ผู้ออกกำลังกายได้ประโยชน์สูงสุด ควรยึดหลักปฏิบัติตามหลัก “FITT”
F = Frequency ความบ่อยของการออกกำลังกาย ความเหมาะสมในการออกกำลังกายในหนึ่งสัปดาห์นั้น ควรออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 3 วัน หนึ่งสัปดาห์ไม่ควรเกิน 6 วัน เพราะควรมีวันพักผ่อนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 1 วัน
I = Intensity ความหนักของการออกกำลังกาย ผู้ออกกำลังกายมีความจำเป็นจะต้องทราบว่าควรออกกำลังกายเท่าใด จึงจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและได้ผลดีที่สุด
โดยปกติเราจะใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัววัดความหนักของงาน ถ้าเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจของผู้ออกกำลังกายควรอยู่ในอัตรา 70–80 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดมีสูตรในการคำนวณดังต่อไปนี้
อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด = 220 (ชีพจรเด็กแรกเกิด) – อายุ = จำนวนครั้ง / นาที หรือ 100 %
เช่น นร. ม. 4 คนหนึ่ง อายุ 16 ปี อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดในการออกกำลังกาย คือ
(220 – 16) = จำนวนครั้ง/นาที = 100%
ถ้าต้องการออกกำลังกายด้วยความหนัก 70 – 80 % = 204 X (70 – 80 %) /100
นักเรียนคนนี้ต้องออกกำลังกายให้ชีพจรเต้น = 142.8 – 163.2 ครั้ง / นาที
T = Time ความนานของการออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแต่ละครั้ง โดยทั่ว ๆ ไปควรใช้เวลาอย่างน้อย 20 –30 นาที (แต่สำหรับผู้ที่เป็นนักกีฬาควรเพิ่มเวลาให้นานขึ้น) โดยให้อัตราการเต้นของหัวใจคงที่ความหนักตามที่ต้องการ รักษาความหนักจนได้เวลาตามที่ต้องการ
T = Type ชนิดของการออกกำลังกาย โดยทั่วไปการออกกำลังกายจะต้องคำนึงถึงการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ความต่อเนื่องของกิจกรรม และความเป็นจังหวะ ความเหมาะสมของแต่ละ เพศ วัย และสภาพทางร่างกายของทุกคน การฟื้นฟูทางร่างกาย การเจ็บป่วยและบกพร่องทางกาย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ชนิดของกิจกรรม เช่น วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก ว่ายน้ำ แอร์รอบิคฯลฯ
เยี่ยมมากค่ะ
ตอบลบดีมากๆเลย
ตอบลบมีประโยชน์มากค่ะ
ตอบลบสุดยอดค่ะ
ตอบลบดีมากๆค่ะ แต่เหนื่อยจังออกกกำลังกาย
ตอบลบ